5 ขั้นตอนต้องรู้ ก่อนเริ่ม ทําเว็บไซต์ WordPress แบบ Step-by-step อัพเดตล่าสุดปี 2021

ทําเว็บไซต์ WordPress

ขั้นตอนก่อนเริ่ม ทำเว็บไซต์ wordpress ต้องทำอะไรบ้าง และ ทําเว็บไซต์ wordpress มีค่าใช้จ่ายอะไร มาเตรียมตัวให้พร้อมกับ 5 ขั้นตอนที่คุณต้องรู้ ก่อนลงมือทำเว็บไซต์ wordpress ด้วยตัวเอง มาดูกันเลย

  1. ค้นหาตลาดเฉพาะที่คุณต้องการจะทำเว็บไซต์
  2. เลือกโดเมนและโฮสติ้ง ที่เหมาะสมกับธุรกิจ
  3. ติดตั้ง WordPress
  4. ลง Plugin สำหรับการทำเว็บไซต์
  5. ทำการโปรโมทเว็บเพื่อหาทราฟิกมายังเว็บไซต์

Contents

1. ค้นหาตลาดเฉพาะที่คุณต้องการจะทำเว็บไซต์

สำหรับคนที่ต้องการเริ่มทำเว็บไซต์ ควรจะเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ที่มีตลาดเฉพาะเจาะจง ที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณมากที่สุด โดยไม่ควรทำเว็บไซต์ที่มีหมวดหมู่ที่กว้างเกินไป


อ่านต่อ: 5 เหตุผลที่น่าคิดว่า การทำเว็บไซต์ ยังมีความจำเป็นมั้ย และปัจจุบันจะเริ่มต้นได้อย่างไร


การเลือกทำเว็บไซต์ ควรเลือกทำโดยอาศัยความชื่นชอบ + ความชำนาญ + ประสบการณ์ที่ผ่านมา

เพราะการทำเว็บไซต์ ต้องอาศัยเวลา หากขาดปัจจัยหนึ่งไป จะทำให้เว็บไซต์ที่สร้างประสบความสำเร็จได้ยาก


2. เลือกโดเมนและโฮสติ้ง ที่เหมาะสมกับธุรกิจ

โดเมนนั้นมีความสำคัญมาก เพราะ เป็นสิ่งที่ลูกค้าหรือ user จะใช้เข้ามายังเว็บไซต์ โดยผมแนะนำให้ใช้ Namecheap เพราะมีราคาถูกและมีคูปองส่วนลดให้ในการจดโดเมนใหม่

การตั้งชื่อโดเมนนั้น ควรตั้งให้สั้น กระชับ และเลือกให้เหมาะสม โดยจะใช้ดอทอะไรนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของเรา แต่ถ้าเอาทั่วไป และผู้ใช้งานรู้จัก ผมก็แนะนำเป็น .com โดยหากซื้อโดเมนผ่าน namecheap ราคาจะอยู่ที่ 3-400 บาท เมื่อใช้รวมกับคูปองส่วนลด

เทคนิคการตั้งชื่อโดเมน ให้น่าสนใจ

การตั้งชื่อโดเมนนั้น ถ้าเอาตามหลัก ก็ไม่มีตาย โดยเราแนะนำในการจดโดเมนดังนี้ครับ

  1. ชื่อโดเมนไม่ควรยาวเกินไป พิมพ์ได้ง่าย
  2. ควรสั้นและจดจำได้ง่าย
  3. มีคีย์เวิร์ดในโดเมน สำหรับเว็บที่ต้องการเน้นการทำ SEO แต่ถ้าแบรนด์ ก็สามารถใช้ชื่อแบรนด์มาจดโดเมนได้เลยครับ
  4. หลีกเลี่ยง – และ ตัวเลขในโดเมน ถ้าจะมี ควรมีให้น้อย หรือเลี่ยงได้ก็เลี่ยงครับ
  5. ควรใช้คำที่ทดสอบมาแล้วว่าจดจำได้ง่ายโดยไม่ใช้คำที่ยากต่อการสะกด
  6. เลือกนามสกุลโดเมน ให้สอนคล้องกับเว็บไซต์ โดยถ้าเป็นเว็บไซต์ทั่วไป สามารถใช้ .com ได้ และถ้าเป็นองค์การสาธารณะจะเลือก .org ได้ครับ และถ้าต้องการจดให้รู้ว่าเป็นของประเทศไหนก็ทำได้เช่นกัน เช่น .in.th ครับ

เป็นวิธีการแนะนำเบื้องต้นนะครับ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปจดโดเมนได้เลย ไปยัง Namecheap


ทําเว็บไซต์ WordPress เริ่มต้นเลือก Hosting อย่างไร สำหรับผู้เริ่มต้นทำเว็บไซต์มือใหม่

Hosting มีความสำคัญมาก กับการทำเว็บไซต์ ในบทความนี้ ผมจะเน้นไปที่ Hosting ที่เหมาะกับการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress นะครับ การเลือก Hosting ต้องใส่ใจมากๆ นะครับ โดยเราต้องกำหนดให้ได้ก่อนเริ่มต้นทำเว็บไซต์ว่า เว็บไซต์ของเราต้องการผู้เข้าชมมากหรือน้อย และถ้าไม่อยากซื้อ Hosting แพงๆ แต่แรก แต่มีแผนจะขยายในอนาคต Hosting นี้รองรับหรือเปล่า

ในการเลือกซื้อ Hosting จะมี 4 แบบ ที่ได้รับความนิยม

ผมขอนำเอาโฮสติ้งแต่ละแบบมาให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจก่อนนะครับ จะได้ไม่พลาดเวลาตัดสินค้าเลือกซื้อ Hosting ดีๆ ไว้ใช้กับเว็บไซต์ของเรา

​1. Hosting ที่แชร์พื้นที่กัน หรือ Shared Hosting ซึ่งเว็บไซต์ของเราจะแชร์พื้นที่กัน ใน 1 เครื่อง

ข้อดี: ราคาถูก เหมาะกับทำเว็บง่ายๆ ไม่เน้นผู้เข้าชมเยอะ
ข้อเสีย: ต้องใช้ Server ร่วมกับคนอื่น หากมีเว็บใดที่ติดไวรัส มีโอกาสที่เว็บเราจะโดนไวรัสได้ และถ้าเว็บเรามีคนเข้าชมเยอะ ก็ทำให้เว็บอื่นๆ ล่มตามไปด้วย ทำให้ ผู้บริการ อาจจะระงับเว็บเราได้ และปรับแต่ง Server เองไม่ได้ แพคเกจจะมีข้อจำกัด

สำหรับ Shared Hosting ที่ผมแนะนำ คือของ RUK-COM จากการทดสอบมาทั้งของลูกค้าและใช้เองในช่วงแรก ผมชอบในเรื่องการ Suport ที่ไว และเวลาเว็บมีปัญหาโดยเฉพาะ WordPress ทีมงานให้คำแนะนำได้ดีมาก ไม่ค่อยติดขัด และค่าบริการรายปีก็ไม่แพงครับ โดยถ้าเราจะใช้ ​Wordpress เค้าก็มีแพคเกจที่ปรับแต่งมาโดยเฉพาะสำหรับ ​Wordpress โดยตรง ซึ่งผมแนะนำเป็นอย่างมากครับ

แพจเกจ Hosting ของ Ruk-Com สำหรับคนทำเว็บด้วย WordPress ผมแนะนำเลยครับ

2. Cloud hosting และ ​​Managed Hosting มีความยืดหยุ่น และรองรับการขยายตัว แนะนำ!

สำหรับ Cloud hosting ข้อดีเลยคือ สามารถปรับแต่งได้มากกว่า Shared Hosting และราคาก็แพงกว่า ต้องมีความเข้าใจระดับนึงเพื่อปรับแต่ง และตั้งค่าระบบได้

ข้อดี: รองรับการขยาดตัวเวลามีคนเข้าเว็บมากๆ ได้ โดยสามารถปรับแต่งที่ระบบจัดการ Hosting ได้ทันที และมีการติดเงินตามปริมาณการใช้งาน มีระบบที่กระจาย ทำให้มั่นใจได้ว่าเว็บของเรา จะทำงานได้ดี
ข้อเสีย: ราคาที่แพง และถ้าต้องการปรับแพคเกจ ก็จะราคาสูงขึ้น ต้องอาศัยความเข้าใจด้านเทคนิค เพราะ ถ้าปรับแต่งผิด ก็ส่งผลกับระบบเว็บไซต์ได้

เว็วไซต์นี้ ก็ใช้ระบบ Managed cloud hosting โดยเลือกใช้ของ Cloudway ซึ่งมี Cloud hosting ชื่อดังมาให้เลือกหลายแบรนด์

ถ้ามีงบเยอะ ก็สามารถเลือกใช้ Cloud hosting ระดับโลกอย่าง AWS หรือ Google Cloud ได้เลย เพราะทาง Cloudway จะเป็นผู้ให้บริการในการจัดการให้กับเรา ในเรื่องการปรับแต่ง แต่ถ้างบน้อยจะเลือก DigitalOcean หรือ VULTR ก็ได้ครับ โดยถ้าเราทำเว็บไซต์ในโซนไหน ก็พยายามเลือกเอาที่ใกล้ประเทศเราให้มากที่สุดครับ เว็บ ​Unfoldads ก็เลือกใช้ location อยู่ที่ Singapore ครับ แล้วใช้ Cloudflare เพื่อเป็น CDN ในการช่วยจัดการ เพื่อประสิทธิภาพต่างๆ ทั้งในเรื่องความเร็ว และป้องกันการโดนสแปมจากผู้ไม่หวังดี

3. VPS Hosting โฮสติ้งเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัวเสมือน

4. Dedicated Hosting โฮสต์เซิร์ฟเวอร์ ที่เป็นส่วนตัว จัดการได้เต็มที่

สำหรับ ข้อ 3 และ 4 จะเหมาะกับคนที่ต้องการทำเว็บ โดยเน้นความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวสูง โดย VPS คือ Virtual Private Server ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ CPU , RAM และพื้นที่ต่างๆ และเรื่องระบบปฏิบัติการได้ตามชอบ VPS เป็นการจำลอง Server เสมือนขึ้นมา โดยใช้โปรแกรมอย่าง WM ในการจำลอง Server เพื่อความเป็นส่วนตัว VPS นั้น จะเหมาะกับคนที่เน้นทำธุรกิจด้านออนไลน์เป็นหลักมากกว่า คนทำเว็บทั่วไป ถ้าเราแค่ทำ Blog ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ VPS ซักเท่าไหร่ เว้นแต่เว็บของเรามีคนเข้าเยอะมาก และต้องการความเร็วของระบบสูง ก็สามารถพิจารณาได้เลย

สำหรับ Dedicated Server นั้น เป็น Server ที่เหมาะกับ คนที่ไม่ต้องการใช้ Hosting ร่วมกับใคร หรือเป็นเว็บที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นการใช้ทรัพยากร Server นั้นคนเดียว ทำให้มีราคาสูงกว่า Hosting ปกติมาก ซึ่งเราเลือก Spec ได้ว่าจะใช้บริการแบบไหน ยิ่งสเปคสูง ราคาก็สูงตามไปด้วย

Z.com เป็นผู้ให้บริการ Hosting ในไทยมานาน โดยเมื่อก่อนชื่อ NetdesignHost ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น z.com โดยมีทีมงานที่เชี่ยวชาญขากญี่ปุ่นมาอยู่ในทีมนี้ด้วยครับ ซึ่งควบรวมกิจการกับ NetDesign

3. การติดตั้งระบบเพื่อ ทำเว็บไซต์ WordPress

การติดตั้ง WordPress นั้นปัจจุบันทำได้ง่ายมาก โดยที่เราไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์เพื่อติดตั้ง WordPress แบบเมื่อก่อน เรามาดูวิธีการกันก่อนครับ โดยผมจะขอแนะนำการใช้งานติดตั้ง WordPress โดยใช้ Hosting ของ Ruk-Com ในการทำครับ

ทำการติดตั้ง WordPress ผ่าน Softculous

โดยเลือกที่ WordPress แล้วทำตามขั้นตอนเลยได้เลยครับ คู่มือจากทาง Ruk-Com

4. ลง Plugin สำหรับการทำเว็บไซต์

เมื่อเราทำการลง WordPress แล้ว เราจะเริ่มทำการติดตั้ง Theme และ Plugin นะครับ เพื่อให้ เว็บทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ธีมที่เหมาะสมกับ คือ ธีมที่เบา และออกแบบมาให้รองรับการทำ SEO นะครับ สำหรับธีมที่ได้รับความนิยมมากๆ ในบ้านเราคือ ​FLATSOME สาเหตุที่ได้รับความนิยมเลยคือ ปรับแต่งได้ง่าย และมีเดโมให้ สามารถเริ่มต้นมีเว็บไซต์ได้ง่าย โดยไม่ต้องทำเองทั้งหมด

Plugin ที่แนะนำให้ติดตั้ง หลังลง WordPress เสร็จแล้ว

ชื่อ Pluginประเภทคุณสมบัติ
yoast seo LinkSEOPlugin ที่ช่วยในการปรับแต่ง SEO
autoptimize LinkOptimise speedใช้ในการปรับแต่ง เพื่อให้ WordPress โหลดได้เร็วขึ้น โดยจะทำการบีบอัด CSS และ JS สามารถตั้งค่า Preload และ Preconnect ให้กับไฟล์ได้ และมีฟังก์ชันในการทำ Lazyload ให้กับรูปภาพ
ShortPixel LinkImage Optimizerช่วยบีบอัดภาพ โดยสามารดลดขนาดรูปได้ถึง 67.36% ​โดยประเภทที่บีบอัดคือ lossy อาจจะทำให้รายละเอียดของภาพหายไปบ้าง แต่ก็ช่วยให้เว็บโหลดได้ไวขึ้น
LiteSpeed Cache LinkCacheเอาไว้จัดการ Cache ไฟล์ต่างๆ ซึ่งสามารถช่วยให้ User สามารถใช้งานได้ดีขึ้นในคร้ังถัดไป และเว็บของเราก็ยังตอบสนองการทำงานในฝั่ง Client ได้ดีขึ้น รองรับการปรับแต่งต่างๆ ได้ดี
Elementor Website BuilderPage builderเครื่องมือออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ ซึ่งใช้งานง่ายแบบ Drag and Drop มีเทมเพลตต่างๆ ให้เลือกมากกมาย แต่ควรใช้กับธีมที่มีขนาดเบา เพราะตัว elementor นั้น ก็กินทรัพยากรของเครื่องมากระดับนึง อาจทำให้เว็บช้าได้

เพียงเท่านี้ก็พร้อมในการใช้งาน wordpress แล้วครับ มาดูกันต่อว่า หลังจากติดตั้งทั้งอย่างแล้ว ถ้าจะเริ่มทำเว็บขึ้นมาต้องรู้อะไรอีกบ้าง

มาทำความรู้จักฟังก์ชั่น Page และ Post ของ WordPress ว่าแตกต่างกันอย่างไร

ในระบบของโพสนั้น เหมาะกับการทำบทความที่มีหมวดหมู่ ซึ่งเราจะพบได้บ่อยในเว็บ Blog โดยสามารถสร้างหมู่และ Tag ให้กับบทความได้ และถ้าต้องการทำหน้าที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงบ่อยเราจะได้ Static page ซึ่ง WordPress จะแยกออกมาอีก 1 ระบบคือ Page

สำหรับ Page เราเอาไว้สร้างหน้าที่ไม่ค่อยได้เปลี่ยนแปลงบ่อยเช่น หน้าแรกของเว็บไซต์ เราก็จะสร้างจากระบบนี้ครับสังเกตว่า Page จะไม่หมวดหมู่มาให้เหมือนกับของ Post

โดย Page ที่เราสร้างใหม่นั้น เราสามารถใช้ Gutenberg ซึ่งเป็นระบบจัดการหรือสร้างหน้าของ WordPress ได้

เครื่องมือในการสร้างเนื้อหาของ Gutenberg ก็มี Block ต่างๆ ให้เลือกใช้งานพอสมควร ซึ่งธีมเดี๋ยวนี้ก็มีทำ Block สำหรับใช้งานเยอะเหมือนกัน แต่ถ้าดูแล้วใช้งานยาก ก็แนะนำ Elelmentor ในการออกแบบหน้า Page กันครับ

Elementor เครื่องมือตกแต่งเว็บไซต์ ที่ใช้งานง่าย ขวัญใจสายชอบทำเว็บสวย เหมือนมีดีไซน์เนอร์มาช่วยทำเว็บอยู่ตรงหน้าจอ

เครื่องมือ Elemetor นั้น นับได้ว่าเป็นก้าวใหม่ของเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ ใช้งานง่าย เพียงลากวาง ซึ่งคล้ายๆ กับเวลาเราใช้ Google slide และ Power point หรือแม้แต่ Microsoft word คุณก็สามารถใช้งาน Elementor ได้เหมือนกัน

การใช้งานนั้น ค่อนข้างจะง่ายสำหรับมือใหม่ และประหยัดเวลาให้กับสายออกแบบเว็บได้มาก เพราะ ตัวของ  elementor มาพร้อมกับส่วนสำเร็จรูปต่างๆ ที่ออกแบบไว้ให้ เช่น Header,Footer และ Preset อย่าง หน้าต่างๆ ของ WordPress เอาไว้ครอบคลุมทั้งระบบ

แทบจะทำเว็บขึ้นมาใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องซื้อธีมราคาแพง แต่บาง Block จะต้องซื้อแบบเสียเงินเท่านั้นครับ เพราะ ตัวฟรี จะมีให้ใช้ค่อนข้างจำกัด

โดยราคาก็จะแพงสักหน่อยนะครับแต่ก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับคนที่จะจริงจังด้วยการทำเว็บไซต์ด้วยตัวเองครับ


อยากเข้าใจ และทำเว็บ WordPress ได้มากขึ้นต้องทำอย่างไร ศึกษาที่ไหนได้บ้าง

มาถึงตรงนี้ก็เรียกได้ว่า เข้าใจระบบของ WordPress ระดับนึงแล้วนะครับ ว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง โดยที่เหลือจะเป็นเรื่องที่เราต้องลงรายละเอียดกันมากขึ้น ซึ่ง WordPress นั้นจะมาควบคู่กับการทำ SEO นี่เรื่องว่าเป็นจุดเด่นของเค้าเลยก็ว่าได้ครับ

สำหรับคนที่ต้องการลงรายเอียดที่เจาะลึกในระบบอื่นๆ มากขึ้น ทาง UNFOLDADS ก็มีคอร์สเรียนในการทำ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้นด้วยนะครับ


5. ทำการโปรโมทเว็บเพื่อหาทราฟิกมายังเว็บไซต์

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หลายๆ คนอยากรู้ว่า ถ้าทำเว็บไชต์แล้ว อยากให้คนรู้จักเว็บเค้าทำอย่างไรกันบ้าง วิธีในการพาคนมายังเว็บไซต์ หรือการหาทราฟิกนั้น มีประเภทหลัก 2 แบบ

การหาทราฟิกแบบ Organic หรือ Free traffic

สำหรับ Organic traffic นั้นเราจะต้องเข้าใจการทำ SEO เพราะ ทุกบทความ หรือทุกหน้าที่เราทำเน้น ย่อมหมายถึงการใช่เวลาและทรัพยากรในการดำเนินการ ดังนั้น SEO จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าใจ

ทราฟิกประเภทนี้ เราควบคุมไม่ได้ แต่เราทำเพิ่มขึ้นได้ เพราะ การติดอันดับ Google นั้น สิ่งที่เค้าแนะนำคือ การทำเนื้อหาให้ตอบโจทย์ ตรงประเด็น กับผู้ใช้งาน ซึ่งมีผู้แข่งขันในคีย์เวิร์ดเดียวกันเป็นจำนวนมาก ทำให้เราต้องขยันเช็คว่า ตอนนี้ Google ให้ความสำคัญกับอะไร และควรปรับตัวอย่างไรบ้าง เพื่อให้เว็บของเรายังคงมีอันดับที่ดีอยู่

การหาทราฟิกแบบ ใช้เงิน หรือ Paid Traffic

เป็นทราฟิก ที่ควบคุมได้ แค่ budget แต่ไม่แน่นอนว่าปริมาณคนจะได้เท่ากันแบบนี้ตลอดไป ต้องเข้าใจว่า ราคาของค่าโฆษณาอาจขึ้นลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ว่า แพลตฟอร์มที่เราเลือกนั้น มีคนมาลงโฆษณาเยอะหรือน้อย ถ้ามีแต่คนลงโฆษณา ก็ย่อมส่งผลต่อการแข่งขึ้น ทำให้ค่าโฆษณามีราคาที่สูงขึ้น ไม่แน่นอนตลอดเวลา โดยช่องทางที่นิยมหาทราฟิก ได้แก่ Facebook ads, Google ads, Native ads รวมไปถึงการซื้อพื้นที่ จากเว็บต่างๆ ด้วยครับ

สรุปส่งท้าย การทำเว็บไซต์อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การทำเว็บไซต์นั้น ต้องอาศัยปัจจัยอะไรหลายอย่าง ตั้งแต่การเลือกตลาดเฉพาะ การเลือกโดเมนและ Hosting การทำความเข้าใจระบบ WordPress และการหาทราฟิก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะเรียนรู้ครับ แค่ต้องลงมือทำ ถ้าไกด์นี้สามารถช่วยชี้แนวทางได้ ก็แชร์ส่งต่อให้เพื่อนๆ ก็ได้เลยครับ ผมยินดีมากๆ ผมตั้งใจเขียนสุดๆ ^^

ถึงตาคุณแล้วครับ มาเริ่มทำเว็บไซต์แรกของคุณกัน

Message us